สิ่งที่จะได้รับจาก Hello Pal

นี่เป็นขั้นตอนที่จะทำให้คุณทราบถึงการเรียนภาษาใหม่ๆ จาก Hello Pal:


1. พูดแบบนกแก้ว

ในตอนแรก คุณแค่เพียงฟังและพูดตาม สิ่งสำคัญก็คือการจดจำการออกเสียง และพูดประโยคหรือวลีขณะที่คุณบันทึกเสียงนั้นเพื่อส่งให้คู่สนทนา

ในขั้นตอนนี้ คุณอาจไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณพูดมากนัก และไม่ทราบว่าแต่ละคำในประโยคนั้นๆ หมายความว่าอย่างไร แต่จะเป็นไรล่ะ คุณได้พูดภาษานั้นจริงๆ แล้วและได้ส่งข้อความแล้ว!

ขยาย ▼



2. สู่ขั้นพื้นฐาน

หลังจากพูดซ้ำหลายครั้งเพื่อให้เพื่อนหลายๆ คนฟัง คุณก็จะเริ่มจำได้ว่าจะพูดในสิ่งที่อยากพูดได้อย่างไรและพูดเมื่อไรก็ได้ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องใช้คู่มือวลีอีกต่อไป

และตอนนี้ คุณก็สามารถพูดบางประโยคกับเจ้าของภาษาที่คุณได้พบเจอในชีวิตจริง เช่นกล่าวทักทายสวัสดีและแนะนำตัว

ขยาย ▼



3. เติมเต็มด้วยเคล็บลับ

หลังจากที่คุณได้ทดลองใช้ฟังก์ชันปรับเปลี่ยนประโยคด้วยรายการคำศัพท์แล้ว คุณก็จะได้เรียนรู้คำศัพท์สำคัญๆ และเรียนรู้วลีที่ต้องการพูดได้อย่างรวดเร็ว จนเกิดความมั่นใจในความสามารถทางภาษาของคุณขึ้นมาทีละน้อย

“I love to eat pizza.”
“I love to eat ice cream.”
etc.

นี่ทำให้คุณสามารถผสมผสาน เติมสีสันและความหลากหลายในกับคำพูดของคุณ และจำเพาะเจาะจงในสิ่งที่ต้องการพูดมากขึ้น

“I’m very hungry.”
“I’m quite hungry.”
“I’m a little hungry.”

ขยาย ▼



4. ความเข้าใจ

เมื่อคุณใช้รายการคำศัพท์อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงคุณจะได้เรียนรู้คำศัพท์เท่านั้น แต่คุณจะได้เข้าใจถึงโครงสร้างประโยค และเข้าใจในความหมายของแต่ละคำได้อีกด้วย

หากคุณใส่ใจกับการแปลตามตัวอักษร คุณก็จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าแต่ละส่วนของวลีนั้นหมายความว่าอย่างไร และเมื่อคุณเข้าใจมากขึ้น คุณก็จะสามารถสร้างประโยคได้ด้วยตัวของคุณเองโดยประกอบส่วนต่างๆ ของวลีที่คุณได้เรียนรู้แล้วเข้าด้วยกัน

“My father is an accountant.”
“I love you.”
“I love my father.”

ยิ่งไปกว่านั้น คุณจะเริ่มสังเกตได้ถึงรูปแบบการเปล่งเสียงและโครงสร้างวลีโดยทั่วไป ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังเรียนภาษาญี่ปุ่น คุณก็จะสังเกตได้ถึงความคล้ายคลึงกับลักษณะที่โยดาพูดในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส! ความเข้าใจตระหนักรู้ในเรื่องนี้จะช่วยให้คุณสร้างประโยคใหม่โดยใช้โครงสร้างประโยคที่ถูกต้องได้

ขยาย ▼



5. แสดงความสามารถออกมา

คู่มือวลีเปรียบเสมือนแบบฝึกหัด – คุณจะไม่จำเป็นต้องใช้มันอีกหลังจากช่วงเวลาหนึ่ง

หลังจากคุณคุ้นเคยกับวลีและคำศัพท์ต่างๆ ในคู่มือวลีแล้ว คุณจะพบเองว่าคุณจะพึ่งคู่มือวลีน้อยลงไปเรื่อยๆ

และถึงแม้จะมีใครใช้ศัพท์ที่คุณไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินมาก่อน คุณก็จะสามารถแสดงออกได้ว่าคุณไม่เข้าใจเพื่อขอคำอธิบายเพิ่มเติมและก็จะเข้าใจในที่สุด

ขยาย ▼



6. การอ่าน/การเขียน

เมื่อคุณพูดภาษานั้นๆ ได้คล่องแล้ว คุณก็จะเริ่มใส่ใจในภาษาเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาที่ไม่ใช้อักขระลาติน เช่น ภาษาจีน และนี่เองที่การถอดความในภาษา (อย่าง ปินยิน เช่น “nihao” สำหรับ “你好”) มีความสำคัญ

การพัฒนาทักษะของคุณเองด้วยการอ่านจะช่วยได้อย่างมากในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การเดินทางไปต่างประเทศ หากคุณสามารถเขียนได้ก็จะสามารถให้คุณสื่อสารได้ในเวลาที่ไม่สะดวกจะใช้เสียง เป็นต้น

ขยาย ▼



7. การรักษา/พัฒนา

การเรียนภาษานั้นไม่มีจุดสิ้นสุด! ไม่ว่าคุณจะเก่งแค่ไหนแล้วก็ตาม ก็จะยังมีเรื่องให้เรียนรู้อีกมากมายหากต้องการจะพัฒนาทักษะไปสู่อีกระดับหนึ่ง และที่นี่ก็เป็นการสนทนาทั่วๆ ไปกับเจ้าของภาษาเท่านั้น

ในความเป็นจริงแล้ว ความรู้ด้านภาษานั้นลืมเลือนไปได้หากไม่ได้ใช้ ดังนั้นจึงควรหมั่นฝึกฝนคุยกับผู้อื่นให้สม่ำเสมอถึงแม้ว่าคุณจะพอใจกับระดับความสามารถของคุณแล้วก็ตาม

ขยาย ▼